5 พฤศจิกายน 2024

MASTERPIECE Skeleton ‘With what eyes?’

โดย Rodrigo Hernández

หลังจากประสบความสำเร็จจากการมีส่วนร่วมใน TimeForArt ปี 2022 มอริส ลาครัวซ์มีความยินดีที่จะประกาศให้การสนับสนุนการประมูลเพื่อการกุศลที่จัดขึ้นทุกๆ สองปีอีกครั้ง TimeForArt และสถาบันสวิส (Swiss Institute) ให้การส่งเสริมงานศิลปะร่วมสมัยและศิลปิน โดยผ่านโครงการที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต่างๆมากมาย โดยในปีนี้ แบรนด์จาก Franches-Montagnes ได้สร้างสรรค์งานอันเป็นเอกลักษณ์โดยร่วมกับศิลปินผู้มีชื่อเสียงอย่าง Rodrigo Hernández ในการสร้างสรรค์หน้าปัดบรอนซ์ซึ่งทำขึ้นด้วยมือ และกลไกแบบสเกเลตัน การประมูลจะจัดขึ้นในฐานะส่วนหนึ่งของการประมูลนาฬิกา Phillips New York Watch Auction: XI ที่ Phillips ในเดือนธันวาคม 2024

Art x Maurice Lacroix

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มอริส ลาครัวซ์ ได้ร่วมงานกับศิลปิน และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบหลายคน ตัวอย่างเช่น แบรนด์ได้ร่วมมือกับนิตยสาร Wallpaper เพื่อออกแบบนาฬิกา PONTOS ขึ้นใหม่ร่วมกับนักออกแบบหลายท่าน ได้แก่ Jean Nouvel, Kris Van Assche และ Patricia Urquiola นอกจากนั้น ในปี 2022 แบรนด์หรูนี้ยังได้เชิญ Benzilla ศิลปินสตรีทชาวไทยมาสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ของนาฬิกา AIKON #tide สำหรับงาน TimeForArt ครั้งที่ 2 นี้ เมซงจากสวิสได้เลือกร่วมงานกับ โรดิโก้ เฮอร์นันเดซ (Rodrigo Hernández) ศิลปินผู้ได้รับรางวัลมาแล้วมากมาย

Maurice Lacroix and Rodrigo Hernández

TimeForArt แนะนำ โรดิโก้ เฮอร์นันเดซ ให้กับเมซงโดยเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายนั้นมีแนวคิดที่คล้ายคลึงกันมากมาย แม้ว่ามอริส ลาครัวซ์จะภูมิใจในรากฐานของความเป็นสวิสแต่ มอริส ลาครัวซ์ ก็พร้อมนำเสนอนาฬิการุ่นใหม่สไตล์คนเมืองซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของนาฬิการุ่นนี้ โดยได้ร่วมกับ โรดิโก้ เฮอร์นันเดซ ศิลปินผู้ที่ได้จัดแสดงผลงานของเขาไปทั่วโลก เมื่อต้องตีความ มาสเตอร์พีช สเกเลตัน ขึ้นใหม่ เฮอร์นันเดซ ก็ได้รับอิสระในการสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ด้วยการแสดงความคิดของตัวเอง และสร้างสรรค์งานประติมากรรมแห่งเวลาจากวัสดุที่เขาเป็นคนเลือกเอง

ด้วยความชำนาญของการทำงานในสื่อศิลปะแขนงต่างๆ เฮอร์นันเดซ จึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากงานแกะสลักภาพนูนที่ทำจากทองเหลืองและบรอนซ์ จากการบ่มเพาะตัวตนผ่านกาลเวลามาจนเกิดมุมมองที่แตกต่าง และมีแรงบันดาลใจมาจากโลกแห่งสรรพสัตว์ เฮอร์นันเดซ ที่ได้ร่วมงานกับ มอริส ลาครัวซ์ จึงได้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมบนข้อมืออันเกิดจากจินตนาการขั้นสูงลงบนตัวเรือนขนาด 43 มม.

Maurice Lacroix MASTERPIECE Skeleton ‘With what eyes?’

นักปรัชญาชาวเม็กซิกัน David M. Peña-Guzmán เคยตั้งคำถามว่า “มนุษย์เป็นนักฝันเพียงเผ่าพันธุ์เดียวบนโลกหรือไม่” ซึ่งคำถามนี้ตรงกันกับความคิดของ เฮอร์นันเดซ ทำให้เขาได้สร้างผลงานใหม่และนำมาจัดแสดงที่สถาบัน Wattis ในซานฟรานซิสโก ผลงาน มาสเตอร์พีช สเกเลตัน ‘With what eyes?’ ของมอริส ลาครัวซ์ ได้เจาะลึกลงไปในมุมมองแบบสมาธิเชิงปรัชญา ด้วยการนำเสนอมุมมองอันน่าสนใจของลิงสองตัวที่กำลังจ้องมองกันและกัน ซึ่งเป็นผลงานบรอนซ์ที่ใช้การรังสรรค์ขึ้นมาด้วยมือ โลหะที่ผสมจากทองแดงและดีบุกนี้ ได้ถูกนำมาใช้ในการสร้างงานประติมากรรมที่มีความสำคัญมานานหลายพันปี และมักจะได้รับความชื่นชมเป็นอย่างมาก จึงเหมาะสำหรับสร้างผลงานประติมากรรมที่สามารถสวมใส่บนข้อมือนี้ได้ ความเห็นของ เฮอร์นันเดซ “ผมชอบการใช้วัสดุที่มีความแข็งแกร่งและหนักแน่น มันแสดงถึงความตรงกันข้ามกับไอเดียที่พยายามจะนำเสนอออกไป ศิลปินชาวเม็กซิกันผู้นี้ได้สร้างงานศิลปะแห่งการบอกเวลาด้วยการใช้บรอนซ์ซึ่งควรค่าแก่การได้รับความชื่นชมไปอีกนานหลายปี

เฮอร์นันเดซ สร้างสรรค์แม่พิมพ์ที่แสดงให้เห็นถึงส่วนหัวของลิง จากนั้นจึงถูกนำมาใช้เพื่อทำหน้าปัดและสร้างเป็นรูปร่างขึ้นมาด้วยบรอนซ์ มอริส ลาครัวซ์ ที่ต้องการสานต่อวิถีของผลงานทางศิลปะจึงได้แกะสลักหน้าปัดขึ้นด้วยมือ และวางไว้ตรงตำแหน่งบริเวณด้านหน้าของนาฬิกา หน้าปัดที่โชว์ให้เห็นหัวของลิงสองตัวซึ่งคล้ายคลึงกับงานที่เพิ่งจัดแสดงอยู่ที่สถาบัน Wattis แต่ทว่ามันอยู่ในขนาดที่เล็กลง โดยศิลปินได้อธิบายว่า “เป็นที่ทราบกันดีว่าลิงมีความใกล้ชิดกับคนเรามากในด้านวิวัฒนาการ แต่ความใกล้ชิดนี้ก็ไม่ได้ทำให้โลกของลิงเหล่านั้นมีเอกลักษณ์น้อยลง พวกมันมีประสบการณ์ที่รับรู้ได้โดยธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างกันออกไปตามแต่วิสัย และยากที่จะเข้าใจได้อย่างเต็มที่ ในแง่ของการคิดถึงสัตว์อื่นๆ เรามักคิดเข้าข้างตัวเองจากการรับรู้ผ่านสัมผัสต่างๆ ของเรา โดยเฉพาะในด้านมุมมอง ดังนั้น เมื่อให้ลิงสองตัวหันหน้าเข้าหากัน ผมจะคิดถึงช่วงเวลาที่ทั้งสองซึ่งมีความเท่าเทียมกันสามารถมองเห็นกันและกันได้อย่างแท้จริงโดยไม่มีอคติ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น”

เบื้องล่างของเข็มชั่วโมงและนาทีจะเผยให้เห็นวงล้อชั่วโมงซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของโลกสองใบอย่างอิสระ นั้นคือ โลกของนาฬิกา และโลกของประติมากรผู้รังสรรค์ผลงาน

ตัวเรือนสีบรอนซ์ที่มาคู่กับพื้นผิวขัดเงาสลับด้านที่ให้รูปลักษณ์สีทองอันอบอุ่น เช่นเดียวกับผลงานศิลปะมากมาย ซึ่งในโอกาสพิเศษเช่นนี้ นาฬิกาเรือนนี้ก็ได้มีการลงนามโดยศิลปินไว้ตรงตำแหน่ง 9 นาฬิกา บริเวณด้านหลังของนาฬิกา ฝาหลังของตัวเรือนจะทำจากสแตนเลสสตีลพร้อมด้วยช่องกระจกคริสตัลแซฟไฟร์ที่ทำให้สามารถเห็น MASTERPIECE ML134 Manufacture Calibre ได้ กลไกไขลานด้วยมือนี้มีการเคลื่อนไหวที่ม้วนด้วยแผ่นเพลตขนาด 3/4 ซึ่งได้สร้างความแข็งแกร่งต่อโครงสร้างแบบสเกเลตัน แผ่นเพลตและสะพานจักรมาในผิวสัมผัสแบบพ่นทรายสีทองอันเปล่งประกาย ช่วยเสริมความโดดเด่นให้แก่ชิ้นงานของ เฮอร์นันเดซ

สายนาฬิกาหนังที่ถักด้วยมือพร้อมตัวล็อคสีบรอนซ์นี้ ได้รับการคัดเลือกจากศิลปินเพื่อเสริมลุคให้กับหน้าปัดที่ทำด้วยมือ

คุณสเตฟาน วาเซอร์ (Stéphane Waser) กรรมการผู้จัดการบริษัทมอริส ลาครัวซ์ กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่จะให้การสนับสนุนงาน TimeForArt อีกครั้ง ความคิดสร้างสรรค์นี้ได้ดึงเอาโลกสองใบที่ส่งเสริมกันให้เข้ามาหากัน ซึ่งได้แก่ศิลปะและการผลิตนาฬิกา ในโอกาสนี้ เราเลือกที่จะออกแบบนาฬิกา มาสเตอร์พีช ขึ้นใหม่ และด้วยความช่วยเหลือของ โรดิโก้ เราจึงได้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหม่สำหรับสวมใส่บนข้อมือขึ้นมา โดยหัวใจสำคัญของนาฬิกาเรือนนี้คือ ML134 Manufacture Calibre ซึ่งเป็นกลไกไขลานด้วยมือโดยได้นำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นเอกบางชิ้นของเรา เป็นผลงานที่ดีที่สุดที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของ ของมอริส ลาครัวซ์ ที่แสดงถึงความเป็นเลิศออกมาได้ตลอดเวลา และในครั้งนี้ เราได้รวมกลไกที่ผลิตขึ้นเองของเราเข้ากับงานศิลปะและงานฝีมือ นาฬิกาที่เป็นเอกลักษณ์นี้แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของเราและความสามารถของเมซง..... อันเป็นเอกลักษณ์ของผลงานตามแบบอย่างของสถาบันสวิส”

สำหรับ มอริซ ลาครัวซ์ และศิลปิน การเดินทางไปสู่การค้นพบครั้งนี้ ถือเป็นเป้าหมายที่สร้างสรรค์ และเป็นไปตามที่ฝันไว้ว่าจะได้ค้นพบ ณ ตอนนี้ การเดินทางได้สิ้นสุดลงด้วยผลงานนาฬิกา มาสเตอ์พีช อันยอดเยี่ยม

ชื่อของนาฬิกา ‘With what eyes?’ มีต้นกำเนิดมาจากกวี Sapho ชาวกรีก และมีชื่อเดียวกับผลงานจัดแสดงของศิลปินซึ่งจัดขึ้นที่สถาบัน Wattis ในซานฟรานซิสโก สำหรับนิทรรศการครั้งนี้ เฮอร์นันเดซ ได้นำเสนอชุดภาพของลิงที่ทำจากสแตนเลสตีลที่ตีขึ้นด้วยมือ คอลเลคชั่นผลงานอันแสนกระตุ้นความคิดนี้สะท้อนความรู้สึกของ Marcel Proust ที่ว่า “การเดินทางที่แท้จริงนั้นไม่ใช่แค่การไปเยี่ยมชมดินแดนที่แปลก แต่เป็นการมีมุมมองต่อโลก ในแบบที่พวกเขาแต่ละคนมองเห็น”

TimeForArt

TimeForArt เป็นงานประมูลนาฬิกาการกุศลคร้้งแรกและเพียงหนึ่งเดียวเพื่อสนับสนุนงานศิลปะและศิลปินร่วมสมัย TimeForArt เป็นงานประมูลนาฬิกาชั้นยอดจากช่างทำนาฬิกาที่ยอดเยี่ยมที่สุดของโลก โดยมอบรายได้ทั้งหมด 100% เพื่อสนับสนุนศิลปินที่มีวิสัยทัศน์มากที่สุดในปัจจุบัน ผ่านนิทรรศการอันล้ำสมัย โปรแกรมสาธารณะ เวิร์กชอปด้านการศึกษา และการมีส่วนร่วมของชุมชนในนิวยอร์กซิตี้กับกิจกรรมอื่นๆ ของสถาบันสวิสซึ่งให้บริการโดยไม่คิดมูลค่า

TimeForArt เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมโลกแห่งศิลปะของการสร้างสรรค์นาฬิกาและทัศนศิลป์ อย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยงาน TimeForArt ครั้งแรกที่จัดขึ้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการประมูลนาฬิกา Phillips New York Watch Auction: SEVEN ในปี 2022 ในส่วนของงาน TimeForArt ครั้งที่สองจะจัดในฐานะส่วนหนึ่งของการประมูลนาฬิกา Phillips New York Watch Auction ในเดือนธันวาคม 2024

สถาบันสวิส

สถาบันสวิส (SI) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1986 นี้เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรสำหรับศิลปะร่วมสมัยระหว่างประเทศ นิทรรศการอันล้ำสมัย เวิร์กช็อปเพื่อให้ความรู้ โปรแกรมสาธารณะ และที่พักอาศัยของศิลปิน โดยที่นี่เปิดให้ทุกคนเข้าใช้แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้สถาบันสวิสเป็นหนึ่งในสถานที่จัดแสดงศิลปะรุ่นบุกเบิกของเมืองนิวยอร์ก

ในฐานะองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่เป็นอิสระอย่างเต็มรูปแบบซึ่งได้รับการสนับสนุนแบบส่วนตัวเป็นหลัก การทำการกุศลจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินภารกิจของ SI

Rodrigo Hernández

Hernández ได้รับปริญญาตรีจาก Staaliche Akademie der bildenden Künste ในคาร์ลสรู (2013) และศึกษาที่ Jan Van Eyck Academie ในมาสทริชต์ (2014) เขาทำงานศิลปะผ่านสื่อที่หลากหลาย เช่น งานแกะนูนทองเหลืองและสำริด ประติมากรรมเปเปอร์มาเช่ ภาพวาดและภาพเขียนแนวอีโรติก และภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ นอกจากนี้เขายังได้รับแรงบันดาลใจจากหลากหลายแหล่ง... ทั้งนิยายวรรณกรรม ศิลปะเม็กซิกันยุคพรีโคลัมเบียน ลัทธินวนิยมของยุโรปและละตินอเมริกา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และประสบการณ์ส่วนตัวต่างๆ ในกรณีนี้ เขายังคงศึกษาคำถามจาก David M. Peña-Guzmán นักปรัชญาชาวเม็กซิกันที่ว่า “มนุษย์เป็นนักฝันเพียงเผ่าพันธุ์เดียวบนโลกหรือไม่” เพื่อขยายความถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับโลกของธรรมชาติ เฮอร์นันเดซตอบรับโดยการนำสัตว์อย่างลิงมาแสดงในอิริยาบทที่ผ่อนคลายในแบบต่างๆ

Hernández เกิดที่เม็กซิโกซิตี้ในปี 1983 ที่ซึ่งเขายังคงอยู่อาศัยและทำงาน เขามีนิทรรศการทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม อาทิเช่น Kestner Gesellschaft, Hannover; Museo Jumex, Mexico City; Swiss Institute, New York; Museo de Arte Moderno, Medellin; Istanbul Modern; PinchukArtCenter, Kiev; Kurimanzutto, Mexico City และ Kunsthalle Basel